เม้า

Hamutaro

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2561

ใบงานที่ 5 บทความและความสำคัญในการทำโครงงาน


🍊ประโยชน์ของส้ม สรรพคุณมากล้น กินส้มวันละผลยิ่งดี !🍊

 ส้ม ประโยชน์ต่อสุขภาพจะมีอะไรบ้างนอกจากความอร่อย ลองมาเจาะลึกสรรพคุณของส้มต่อร่างกายเรากัน 


  ผลไม้ที่มีให้กินทุกฤดูและราคาไม่แพงแถมยังอร่อย หลายคนก็นึกถึงส้มเป็นอันดับแรก ๆ และใช่ค่ะ ส้มเป็นผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพ มีไฟเบอร์สูง มีวิตามินซี และสรรพคุณของส้มยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะจริง ๆ แล้ว ประโยชน์ของส้มเขาก็เยอะตั้งแต่เนื้อไปยันเปลือกเชียวล่ะ

ประวัติของส้ม



 ส้มเป็นผลไม้ที่มีการเพาะปลูกมาหลายพันปี โดยส้มที่อยู่ในตระกูลซิตรัสเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนของทวีปเอเชีย รวมไปถึงในหมู่เกาะมลายู ส่วนในไทยมีหลักฐานเป็นรายงานที่กล่าวถึงส้มชนิดต่าง ๆ คือ ส้มโอ ส้มแก้ว และมะกรูด โดยเป็นรายงานที่มีต้นฉบับเป็นภาษาฝรั่งเศส แปลและจัดพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2236 

          สำหรับส้มเขียวหวานนั้น มีข้อสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากการเพาะเมล็ดและขยายพันธุ์ของส้มแก้ว หรือมีต้นกำเนิดจากพันธุ์ที่ชาวจีนนำเข้ามาปลูกในภาคกลางเมื่อประมาณร้อยกว่าปีมาแล้ว และนับจากนั้นก็มีการขยายพันธุ์ส้มเขียวหวานไปปลูกในภาคอื่น ๆ และที่เรียกส้มเขียวหวานเพราะเมื่อผลแก่จัดจะมีสีเขียว แต่เนื้อส้มข้างในมีรสหวานอร่อยนั่นเองฃ

คุณค่าทางโภชนาการของส้ม


 ส้มเขียวหวานในปริมาณ 100 กรัม ให้คุณค่าทางสารอาหาร ดังนี้

                 - พลังงาน 56 กิโลแคลอรี

                 - น้ำ 86 กรัม

                 - โปรตีน 1.1 กรัม

                 - ไขมัน 0.1 กรัม

                 - คาร์โบไฮเดรต 12.6 กรัม
             
                 - ใยอาหาร 1.8 กรัม

                 - เถ้า 0.6 กรัม

                 - โซเดียม 3 มิลลิกรัม

                 - โพแทสเซียม 190 มิลลิกรัม

                 - แมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม

                 - แคลเซียม 21 มิลลิกรัม

                 - ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม

                 - เหล็ก 0.09 มิลลิกรัม

                 - สังกะสี 0.14 มิลลิกรัม

                 - เบต้าแคโรทีน 62 ไมโครกรัม

                 - วิตามินซี 20 มิลลิกรัม

                 - น้ำตาล 11 กรัม

ส้ม สรรพคุณไม่ไก่กา

          คุณค่าทางสารอาหารของส้มก็มีไม่น้อยดังข้อมูลข้างต้น คราวนี้เรามาดูกันค่ะว่าสรรพคุณของส้มจะเจ๋งเบอร์ไหน 

1. ผลไม้แก้ท้องผูก

          ส้มเป็นหนึ่งในผลไม้แก้ท้องผูกได้ เพราะมีใยอาหารสูง ช่วยในระบบย่อยอาหารและการขับถ่าย โดยกินส้ม 1 ผลใหญ่ก็จะได้ใยอาหาร 2.0 กรัมแล้วนะคะ

          9 ผลไม้ช่วยขับถ่าย หาทานง่าย แก้ท้องผูกได้อยู่หมัด 
2. กระตุ้นภูมิคุ้มกันร่างกาย

          ด้วยความที่ส้มพกวิตามินซีมาไม่น้อย จึงทำให้ส้มจัดเป็นผลไม้กระตุ้นภูมิคุ้มกันร่างกาย ช่วยป้องกันอาการป่วยเบสิก ๆ ไปจนถึงอาการป่วยที่หนักหนาได้ เพราะเมื่อร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่ดี เราก็จะป่วยยาก เชื้อโรคและไวรัสต่าง ๆ ก็มีโอกาสจู่โจมเราได้น้อยนั่นเอง

ส้ม

3. ปรับสมดุลระดับน้ำตาลในเลือด
          น้ำตาลฟรุกโตสในเนื้อส้มมีส่วนช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่พุ่งสูงหลังจากกินส้มเข้าไป อีกทั้งไฟเบอร์ในส้มยังช่วยให้ร่างกายควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อีกทาง จึงจัดว่าส้มเป็นผลไม้ช่วยคุมระดับน้ำตาลในเลือดอีกชนิดหนึ่ง

          10 สุดยอดอาหาร ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
4. ช่วยลดความดันโลหิต

          ส้มเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยโพแทสเซียม และยังมีปริมาณโซเดียมค่อนข้างต่ำ จึงช่วยในกระบวนการไหลเวียนโลหิตได้ดี ทำให้ร่างกายควบคุมความดันโลหิตได้อย่างสมดุล และยังช่วยลดความดันเลือดในคนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงด้วยนะคะ

          9 ผลไม้ลดความดันโลหิต กินเพิ่มความฟิต คุมความดันโลหิตไม่ให้พุ่ง 

5. ลดคอเลสเตอรอลในเลือด

          ในเนื้อส้มเองก็ไม่มีคอเลสเตอรอล ขณะที่วิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระที่มีในเนื้อส้มก็ยังมีส่วนช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้ โดยสารต้านอนุมูลอิสระจะเข้าไปปกป้องหลอดเลือดไม่ให้อนุมูลอิสระเข้ามาเกาะและก่อให้เกิดไขมันพอกพูนไปเรื่อย ๆ จนก่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่างโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหัวใจ เป็นต้น

          อาหารช่วยลดคอเลสเตอรอล คนรักสุขภาพไม่ทานไม่ได้แล้ว 
6. บำรุงหัวใจ

  โพแทสเซียมในส้มคือส่วนสำคัญที่ช่วยให้หัวใจทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ในส้มยังมีวิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ดีต่อการทำงานของหัวใจ ช่วยให้หัวใจเต้นในจังหวะปกติ และช่วยในการไหลเวียนของเลือดให้เป็นไปอย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

7. ลดความเสี่ยงโรคนิ่วในไต

          มีการศึกษาพบว่า น้ำส้ม มีส่วนช่วยลดการเกิดนิ่วในไต โดยโพแทสเซียมในส้มจะช่วยยับยั้งการเกิดนิ่วต่าง ๆ ในร่างกาย และช่วยให้นิ่วถูกขับถ่ายออกมาพร้อมของเสีย ลดความเสี่ยงโรคนิ่วในไตและนิ่วในอวัยวะอื่น ๆ ได้

8. ยับยั้งการเกิดแผลเปื่อย

          การศึกษาในวารสาร American College of Nutrition พบว่า คนที่ร่างกายได้รับวิตามินซีสูงจะมีโอกาสเกิดแผลเปื่อยได้น้อยกว่าคนที่ร่างกายได้รับวิตามินซีไม่เพียงพอต่อความต้องการ และส้มก็เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีมากถึง 89% ของปริมาณที่ร่างกายควรได้รับต่อวันเชียวนะคะ

9. ลดความเสี่ยงโรคสโตรก

อาการสโตรก (Stroke) เกิดจากการที่หลอดเลือดตีบ แตก ตัน ซึ่งการศึกษาจากมูลนิธิโรคหัวใจแห่งอเมริกา พบว่า การรับประทานผลไม้ประเภทซิตรัสอย่างส้มและเกรปฟรุตมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงโรคสโตรกในผู้หญิงได้ถึง 19% เมื่อเทียบกับอาสาสมัครที่กินผลไม้ในกลุ่มซิตรัสน้อยกว่า

10. ป้องกันมะเร็ง

          ในเนื้อส้มมีสารต้านอนุมูลอิสระประเภทฟลาโวนอยด์ค่อนข้างสูง ซึ่งเจ้าสารตัวนี้มีคุณสมบัติช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ อีกทั้งเนื้อส้มที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ก็ยังจะช่วยขับเอาของเสียที่ตกค้างอยู่ในลำไส้ออกมา จึงช่วยลดโอกาสเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อีกทาง


          นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่า สารซิตรัสในส้มสามารถต้านการเกิดมะเร็งช่องปาก มะเร็งผิวหนัง มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม และมะเร็งกระเพาะอาหารได้ด้วย


11. ลดความเสี่ยงโรคจอประสาทตาเสื่อม


 มีงานวิจัยที่เผยว่า เพียงกินส้มวันละผลก็ช่วยลดโอกาสเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมได้ ส่วนรายละเอียดจะเป็นยังไง ลองอ่านกันเลย 

          กินส้มวันละผล ลดความเสี่ยงโรคจอประสาทตาเสื่อมได้ถึง 60% !

12. ส้มช่วยบำรุงผิว

          สารต้านอนุมูลอิสระผสานกับพลังแห่งวิตามินซีมีส่วนช่วยปกป้องเซลล์ผิวจากการถูกแสงแดดทำร้าย ปกป้องผิวจากมลพิษ ช่วยลดการเกิดริ้วรอย และช่วยบำรุงเซลล์ผิวให้แข็งแรง ทำให้ผิวดูกระชับตึงมากขึ้น เนื่องจากวิตามินซีเป็นสารตั้งต้นของคอลลาเจนนั่นเอง



ลักษณะโรค
โรคไข้เลือดออกเดงกี เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเดงกีที่มียุงลายเป็นแมลงนำโรค โรคนี้ได้กลายเป็นปัญหาสาธารณสุขในหลายประเทศทั่วโลก เนื่องจากโรคได้แพร่กระจายอย่างกว้างขวางและจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมากใน 30 ปีที่ผ่านมา มากกว่า 100 ประเทศที่โรคนี้กลายเป็นโรคประจำถิ่น และโรคนี้ยังคุกคามต่อสุขภาพของประชากรโลกมากกว่าร้อยละ 40 (2,500 ล้านคน) โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะพบมากในประเทศเขตร้อนและเขตอบอุ่น
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus) ซึ่งเป็น single - strand RNA จัดอยู่ใน genus Flavivirus และ family Flaviviridae มี 4 serotypes คือ DEN-1, DEN-2, DEN-3 และ DEN-4 ทั้ง 4 serotypes มี antigen ร่วมบางชนิด จึงทำให้มี cross reaction และ cross protection ได้ในระยะเวลาสั้นๆ เมื่อมีการติดเชื้อไวรัสเดงกีชนิดหนึ่งจะมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเดงกีชนิดนั้นตลอดไป (long lasting homotypic immunity) และจะมีภูมิคุ้มกัน cross protection ต่อชนิดอื่น (heterotypic immunity) ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 6-12 เดือน ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่มีไวรัสเดงกีชุกชุมอาจมีการติดเชื้อ 3 หรือ 4 ครั้งได้
วิธีการติดต่อ
โรคไข้เลือดออกเดงกีติดต่อกันได้โดยมียุงลายบ้าน (Aedes aegypti) เป็นแมลงนำโรคที่สำคัญ และในชนบทบางพื้นที่ จะมียุงลายสวน (Aedes albopictus) เป็นแมลงนำโรคร่วมกับยุงลายบ้าน เมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้ ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุง และเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย พร้อมที่จะเข้าสู่คนที่ถูกกัดต่อไป เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสเดงกีไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้คนนั้นป่วยได้
ระยะฟักตัว
ระยะเพิ่มจำนวนของไวรัสเดงกี ในยุง ประมาณ 8-10 วัน
ระยะฟักตัวของเชื้อไวรัสเดงกี ในคน ประมาณ 3-14 วัน โดยทั่วไปประมาณ 5-8 วัน
ระยะติดต่อ
โรคไข้เลือดออกเดงกีไม่ติดต่อจากคนสู่คน ติดต่อกันได้โดยมียุงลายเป็นแมลงนำโรค การติดต่อจึงต้องใช้เวลาในผู้ป่วยและในยุง ระยะที่ผู้ป่วยมีไข้สูงประมาณวันที่ 2-4 จะมีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก ระยะนี้จะเป็นระยะติดต่อจากคนสู่ยุง และระยะเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสในยุงจนมากพออีกประมาณ 8-10 วัน จึงจะเป็นระยะติดต่อจากยุงสู่คน
อาการและอาการแสดง
หลังจากได้รับเชื้อจากยุงประมาณ 5-8 วัน (ระยะฟักตัว) ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการของโรค ซึ่งมีความรุนแรงแตกต่างกันได้ ตั้งแต่มีอาการคล้ายไข้เดงกี (dengue fever: DF) ไปจนถึงมีอาการรุนแรง (dengue hemorrhagic fever: DHF) และรุนแรงมาก จนถึงช็อกและเสียชีวิต (dengue shock syndrome: DSS)
ผู้ป่วยมีอาการได้ 3 แบบ คือ
  1. Undifferentiated fever (UF) หรือกลุ่มอาการไวรัส
  2. ไข้เดงกี (Dengue fever - DF)
  3. ไข้เลือดออกเดงกี (Dengue hemorrhagic fever - DHF)

โรคไข้เลือดออกเดงกี มีอาการสำคัญที่เป็นรูปแบบค่อนข้างเฉพาะ 4 ประการ เรียงตามลำดับการเกิดก่อนหลัง ดังนี้
  1. ไข้สูงลอย 2-7 วัน
  2. มีอาการเลือดออก ส่วนใหญ่จะพบที่ผิวหนัง
  3. มีตับโต กดเจ็บ
  4. มีภาวะไหลเวียนโลหิตล้มเหลว/ภาวะช็อก
การดำเนินโรคของโรคไข้เลือดออกเดงกี แบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ ระยะไข้ ระยะวิกฤต/ช็อก และระยะฟื้นตัว
  1. ระยะไข้
    ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ส่วนใหญ่ไข้จะสูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส บางรายอาจมีอาการชักเกิดขึ้นโดยเฉพาะในเด็กที่เคยมีประวัติชักมาก่อน ผู้ป่วยมักจะมีหน้าแดง (flushed face) ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการน้ำมูกไหลหรืออาการไอ เบื่ออาหาร อาเจียน และไข้จะสูงลอยอยู่ 2-7 วัน อาจพบมีผื่นแบบ erythema หรือ maculopapular ซึ่งมีลักษณะคล้ายผื่น rubella ได้ อาการเลือดออกที่พบบ่อยคือ ที่ผิวหนัง การทำ tourniquet test ให้ผลบวกได้ตั้งแต่ 2-3 วันแรกของโรค ร่วมกับมีจุดเลือดออกเล็กๆ กระจายตามแขน ขา ลำตัว รักแร้ อาจมีเลือดกำเดาหรือเลือดออกตามไรฟัน ในรายที่รุนแรงอาจมีอาเจียนและถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ซึ่งมักจะเป็นสีดำ (melena) ส่วนใหญ่จะคลำตับ โต ได้ประมาณวันที่ 3-4 นับแต่เริ่มป่วย ในระยะที่ยังมีไข้อยู่ ตับจะนุ่มและกดเจ็บ
  2. ระยะวิกฤติ/ช็อก
    ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกี จะมีอาการรุนแรง มีภาวะไหลเวียนโลหิตล้มเหลวเกิดขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นพร้อมๆ กับที่มีไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว เวลาที่เกิดช็อกจึงขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่มีไข้ อาจเกิดได้ตั้งแต่วันที่ 3 ของโรค (ถ้ามีไข้ 2 วัน) หรือเกิดวันที่ 8 ของโรค (ถ้ามีไข้ 7 วัน) ภาวะช็อกที่เกิดขึ้นนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยจะมีอาการเลวลง และจะเสียชีวิตภายใน 12-24 ชั่วโมง หลังเริ่มมีภาวะช็อก
  3. ระยะฟื้นตัว
    ระยะฟื้นตัวของผู้ป่วยค่อนข้างเร็ว ในผู้ป่วยที่ไม่ช็อกเมื่อไข้ลดส่วนใหญ่ก็จะดีขึ้น ส่วนผู้ป่วยช็อกถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้องทันท่วงทีจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ระยะฟื้นตัวมีช่วงเวลาประมาณ 2-3 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นอย่างชัดเจน

ระบาดวิทยาของโรค
มีรายงานการระบาดของไข้เดงกี (DF) ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2322-2323 ในเอเชีย อาฟริกา และอเมริกาเหนือ ต่อมาการระบาดของไข้เลือดออก (DHF) ได้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเริ่มมีรายงานการเกิดโรคจากภูมิภาคแปซิฟิก อเมริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การระบาดใหญ่เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อปี พ.ศ. 2497 ปัจจุบันพบไข้เลือดออกทั้งในประเทศเขตร้อนและเขตอบอุ่น (subtropical) ในทวีปอาฟริกา ทวีปอเมริกา ประเทศในแถบเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแปซิฟิก
ประเทศไทยเริ่มพบโรคไข้เลือดออกประปราย ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2492 และการระบาดใหญ่ในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2501 ในเขตกรุงเทพ-ธนบุรี สถานการณ์โรคไข้เลือดออกของประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501-2545 มีแนวโน้มที่สูงขึ้น และมีการระบาดหลายลักษณะ เช่น ระบาดปีเว้นปี ปีเว้น 2 ปี หรือระบาดติดต่อกัน 2 ปี แล้วเว้น 1 ปี แต่ในระยะ 15 ปีย้อนหลัง ลักษณะการระบาดมีแนวโน้มระบาด 2 ปี เว้น 2 ปี ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะอยู่ในกลุ่มอายุ 0-14 ปี อัตราป่วยสูงสุดในกลุ่มอายุ 5-9 ปี อัตราส่วนผู้ป่วยเพศหญิงต่อเพศชายใกล้เคียงกัน พบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี แต่จะพบมากในช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม
การรักษา
ในปัจจุบันยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสเดงกี จึงให้การรักษาแบบประคับประคองตามอาการ แพทย์ผู้รักษาจะต้องเข้าใจธรรมชาติของโรค และให้การดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด จะต้องมีการดูแลรักษาพยาบาลที่ดีตลอดระยะวิกฤต คือ ช่วง 24-48 ชั่วโมง ที่มีการรั่วของพลาสมา หลักในการรักษามีดังนี้
  1. ในระยะไข้สูง บางรายอาจมีอาการชักได้ถ้าไข้สูงมาก ให้ยาลดไข้ ควรใช้ยาพวกพาราเซตามอล ห้ามใช้ยาพวกแอสไพริน, ibrupophen, steroid เพราะจะทำให้เกล็ดเลือดเสียการทำงาน จะระคายกระเพาะทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น
  2. ให้ผู้ป่วยได้สารน้ำชดเชย เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่มีไข้สูง เบื่ออาหาร และอาเจียน ทำให้ขาดน้ำและเกลือโซเดียม ควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำผลไม้หรือสารละลายผงน้ำตาลเกลือแร่
  3. ติดตามดูอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้ตรวจพบและป้องกันภาวะช็อกได้ทันเวลา
  4. ดูการเปลี่ยนแปลงของเกล็ดเลือดและ hematocrit เป็นระยะๆ เพราะถ้าปริมาณเกล็ดเลือดเริ่มลดลง และ hematocrit เริ่มสูงขึ้น เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าน้ำเหลืองรั่วออกจากเส้นเลือดและอาจจะช็อกได้ จำเป็นต้องให้สารน้ำชดเชย
สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกหรือเลือดออก แพทย์จะต้องให้การรักษาเพื่อแก้ไขสภาวะดังกล่าว ด้วย สารน้ำ พลาสมา หรือสาร colloid อย่างระมัดระวัง เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยและป้องกันโรคแทรกซ้อน


เปลือกส้มไล่ยุง


เปลือกส้มไล่ยุง – เปลือกของส้มเมื่อรับประทานเนื้อหมดแล้วอย่าทิ้งเปลือก เพราะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อีกมากมายเช่น นำมาปรุงเป็นยาไล่ยุง หรือ ทำเป็นเครื่องหอม แม้กระทั่งนำมาแปรรูปเป็นอาหารรับประทาน ก็ได้รับความนิยมอยู่ไม่น้อย เช่น แยมเปลือกส้ม เปลือกส้มแช่อิ่ม การนำเปลือกส้มมาปรุงเป็นยาไล่ยุงนั้นจะได้ผลหรือไม่อย่างไรมาดูกันเลยนะคะ

วิธีที่หนึ่ง เลือก“ส้มออร์แกนิค” ที่ปลอดสารพิษ ส่วนเปลือกอย่าทิ้งให้นำไปตากแดดประมาณ 2-3 แดด จนแห้งจากนั้นนำเปลือกส้มแห้งวางไว้ในภาชนะแล้วจุดไฟจนมีกลิ่นหอมระเหยและควันแล้วนำไปวางไว้บริเวณมุมห้องหรือที่มียุงชุกชุมกลิ่นและควันของเปลือกส้มจะช่วยไล่ยุงและทำให้ยุงตายซึ่งกลิ่นและควันเปลือกส้มไม่มีสารอันตรายตกค้างต่อสุขภาพให้กังวลอีก โดยให้เลือกจุดช่วงตอนเย็นๆเพราะเป็นช่วงที่ยุงชุกชุม

วิธีที่สอง นำเปลือกส้มสดๆที่ยังไม่ได้ตากแห้งเพราะเปลือกส้มสดนั้นจะมีน้ำใสๆอยู่เต็มบริเวณผิวของเปลือกแล้วบีบเอาน้ำมาใช้ทาผิวหนังบริเวณแขน ขา ยุงก็ไม่กล้าเข้าใกล้ ใช้ป้องกันยุงได้เป็นอย่างดีเชียวละ

วิธีที่สาม ใช้เปลือกส้มสดหั่นเป็นชิ้นเล็กๆประมาณ 200 กรัม จากนำมาบดให้ละเอียดแล้วผสมกับน้ำเปล่าในปริมาณ 150 มล.ผสมให้เข้ากันกรองเอาแต่น้ำแล้วเทใส่กระบอกนำไปฉีดพ่นบริเวณที่มียุง เพียงเท่านี้ยุงก็จะไม่มากวนใจอีก

ดังนั้นเปลือกส้มยังสามารถไล่ได้ทั้งยุง แมลงและมด โดยวางเปลือกส้มหงายเอาด้านที่เป็นเนื้อส้มขึ้นนำไปวางบริเวณที่มียุง แมลงและมด ก็จะหนีหายไปหมดเห็นไหมละคะว่าเปลือกส้มสามารถนำประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยวิธีธรรมชาติปลอดภัยต่อสุขภาพร่างกายแถมยังประหยัดเงินในกระเป๋าเราอีกด้วย



แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
รหัสวิชา ง33201-33202 ชื่อวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 5- 6
ปีการศึกษา 2561

ชื่อโครงงาน (ภาษาไทย)
สารสกัดจากเปลือกส้มที่มีผลต่อการไล่ยุง

ชื่อโครงงาน (ภาษาอังกฤษ)                   

Orange peel extract effect on mosquito repellant.


ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
เนื่องจากในปัจจุบันเรื่องของโรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ทั้งโลกให้ความสำคัญและตระหนักถึงผลกระทบที่จะตามมา โดยโรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหนะของโรค นอกจากเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น และก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้คนมากมายเพราะอาการของไข้เลือดออกไม่จำเพาะ อาการมีได้หลายอย่าง ในเด็กอาจจะมีเพียงอาการไข้และผื่น ผู้ใหญ่อาจจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ หากไม่คิดโรคนี้อาจจะทำให้การรักษาช้า ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิต
ในปัจจุบันยังไม่สามารถผลิตวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกได้เนื่องจากเชื้อมีมากถึง 4 สายพันธุ์ เราจึงทำได้เพียงป้องกันและหลีกเลี่ยงการถูกยุงกัด โดยในปัจจุบันมีหลากหลายวิธีและที่เราสนใจศึกษาคือการทำสเปรย์จากเปลือกส้มเนื่องจากเปลือกส้มมีคุณสมบัติในการไล่ยุง เป็นธรรมชาติ ไม่มีค่าใช้จ่ายและปลอดภัยทั้งต่อคนและสัตว์เลี้ยง







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น